วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

บทที่ 2 -วิธีระบบ กับ เทคโนโลยีการเรียนการสอน




บทเรียนที่ 2 วิธีระบบ กับ เทคโนโลยีการเรียนการสอน

ตอนที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เรื่องที่ 1.1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ในศตวรรษที่ 19 ชาร์ลดาวิน (Charles Dawin)ได้คิดค้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยอาศัยวิธีอนุมาน-อุปมาน ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดกระบวนการอย่างหนึ่งขึ้นเรียกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์( Scientific method)
หลักการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยมีขั้นตอนดังนี้ เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต (2538) กล่าวว่าขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์มีดังนี้


1 ตั้งปัญหาหรือกำหนดขอบเขตของปัญหา หมายถึงวิเคราะห์ปัญหาให้ชัดแจ้งว่าปัญหานั้นคืออะไรแล้วกำหนดขอบเขตของปัญหานั้นให้ชัดเจน
2 กำหนดสมมติฐาน เป็นการคาดเดาอย่างมีหลักเกณฑ์ว่าผลของปัญหานั้นจะเป็นอย่างไร มีคำตอบอย่างไร โดยการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลต่างๆที่มีอยู่เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการคาดเดา
3 เก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นนี้เป็นการหาคำตอบของปัญหานั้นว่ามีคำตอบอย่างไร โดยอาจจะใช้วิธีการทดสอบ ทดลอง หรือรวบรวมข้อมูลโดยวิธีอื่นๆ
4 วิเคราะห์ข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูล หรือได้ผลการทดลองมาแล้ว ก็วิเคราะห์ข้อมูลนั้นให้ถูกต้องชัดเจน วิธีที่จะทำให้ผลการวิเคราะห์ได้ถูกต้องแม่นยำนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือใช้สถิติต่างๆมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
5 สรุปผล ในขั้นนี้ก็เป็นการสรุปผลออกมาว่าคำตอบของปัญหานั้นเป็นอย่างไร



ตอนที่ 2 ความหมายของระบบ

เรื่องที่ 2.1 ความหมายของระบบ


ความหมายของระบบ
ระบบ (system) หมายถึง โครงสร้างหรือองค์ประกอบรวมทั้งหมดอย่างมีระบบ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ภายในของส่วนประกอบต่างๆ แต่ละส่วนและต่อส่วนรวมทั้งหมดของระบบอย่างชัดเจน (Silvern)
ระบบ (system) หมายถึง การรวบรวมส่งต่างๆ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้รอกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาจัดดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ (Banathy 1968 : 7)
ระบบ (system) คือผลรวมขององค์ประกอบย่อย ๆ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมาประกอบรวมกันเป็นระบบเพื่อทำหน้าท่บางอย่าง อาทิเช่น ร่างกายมนุษย์ สงคมมนุษย์ พืช รถยนต์ ฯลฯ (Robbins 1983 : 9)

Gagne and Briggs( กล่าวว่า ระบบหมายถึงวิธีการใดๆที่ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบเพื่อเป็นหลักให้สมารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายในวงกว้างหรือในวงแคบๆก็ได้
ระบบ (system) หมายถึง ผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกันแต่มีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2523 : 98)
ระบบ (system) คือส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรือส่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันอาจจะเกิดโดยธรรมชาติ เช่น ร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยระบบการหายใจ การย่อยอาหาร ฯลฯ โดยแต่ละระบบต่างทำงานของคนแล้วมามีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีระเบียบแล้วนำส่งเหล่านั้นมารวมกันเพื่อให้การดำเนินการสามารวบรรลุไปได้ความจุดหมายที่วางไว้ (กิดานันท์ มลิทอง 2543 :74)
กล่าวโดยสรุประบบคือ การรวบรวมส่วนประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันภายในและมีปฏิสัมพันธ์กันโดยส่วนประกอบทั้งหลายนั้นจะร่วมกันทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
วิธีระบบหรือวิถีระบบ (systems Approach) ความหมาย กระบวนการที่ทำให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อผลลัพธ์ที่กหนดซึ่งอยู่บนพื้นฐานหลักการความต้องการเป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ปัญหา เชิงตรรถวิทยา เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการที่ระบุความต้องการ หรือมีการเลือกปัญหา คำตอบ หรือข้อแก้ไขปัญหาต่างๆ และได้รับการเลือกจากตัวเลือกและวิธีการต่างๆ และใช้มรรควิธีต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับใช้แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีการประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขตามที่กำหนดต่อส่วนต่างๆ ของระบบ ได้รับการดำเนินการจาสามารถบำบัดความต้องการ หรือความจำเป็นได้สั้นเชิง Kaumfan(1987)
เป็นระบบวิธีการแก้ไขด้วยตนเอง เชิงตรรกวิทยาสำหรับการตัดสินใจที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาสรรพส่งที่มนุษย์ทำขึ้นยุทธิวิธีของระเบียบวิธีนี้ประกอบด้วยหลักการวัตถุประสงค์การประกอบกิจ การจำแนกหน้าที่และองค์ประกอบต่างๆ การจัดเวลาการฝึกระบบและการทดสอบระบบ การติดตั้งและการควบคุมเชิงคุณภาพ ฉลองชัย (2544)
วิธีระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหาสมมติฐานการวิเคราะห์ข้อมูลและการดำเนินการทดลองชั้นนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นสิ่งที่คาดว่าจะได้ผลดีก็จะถูกนำมาทดลองใช้ แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ก็จะต้องมีการทดรองมาสังเกตใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง (กิดานันท์ มลิทอง 2543 : 77)


เรื่องที่ 2.2 องค์ประกอบของระบบ

องค์ประกอบของระบบ
จากความหมายของระบบตามที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าการที่จะมีระบบใดระบบหนึ่งขึ้นมาได้จะต้องมีส่วนประกอบหรือสิ่งต่างๆ เป็นตัวป้อนโดยเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็น "กระบวนการ" เพื่อให้ได้ "ผลลัพธ์" ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น ภายในระบบหนึ่งจะสามารถแบ่งองค์ประกอบและหน้าที่ได้ดังนี้
รูปองค์ประกอบของระบบ



1 ข้อมูล เป็นการตั้งปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป็นการป้อนวัตถุดิบตลอดจนข้อมูลต่างๆ เพื่อการแก้ปัญหานั้น
2 กระบวนการ เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ป้อนเข้ามาเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3 ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้ออกมาภายหลังจากการดำเนินงานในขั้นของกระบวนการสิ้นสุดลง รวมถึงการประเมินด้วย

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลป้อนกลับซึ่งเป็นการนำเอาผลลัพธ์ที่ประเมินนั้นมาพิจารณาว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ นั้นให้สามารถใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากองค์ประกอบและหน้าที่ต่างๆ ของระบบดังกล่าวมาแล้ว จึงจะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้


ตัวอย่าง : ระบบการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัย
ข้อมูล : ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยการตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเรียนจบออกมาเป็น "บัณฑิต"
กระบวนการ : การลงทะเบียนเรียน การเรียนให้ครบในวิชาและหน่วยกิตที่ได้กำหนดไว้ การสอบผ่านได้คะแนนเฉลี่ยถึงเกณฑ์มาตรฐาน ฯลฯ
ผลลัพธ์ : นักศึกษาสำเร็จตามกฎข้อบังคับและเงื่อนไขต่างๆ ของมหาวิทยาลัยออกมาเป็น "บัณฑิต"
ข้อมูลป้อนกลับ : เมื่อบัณฑิตจบออกมาแล้วยังหางานทำไม่ได้หรือทำงานไม่ได้ดีเท่าที่ควรนับเป็นข้อมูลป้อนกลับให้นำมาวิเคราะห์ถึงทุกขั้นตอนในระบบนั้น เช่น การสอบคัดเลือกได้มาตรฐานหรือไม่ เนื้อหาวิชาที่เรียนเหมาะสมกับสภาพการทำงานในแต่ละแขนงหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งต้องทำการแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่คาดว่ายังบกพร่องอยู่หรืออาจจะมีการปรับปรุงใหม่ทั้งระบบก็ได้


เรื่องที่ 2.3 ประโยชน์ของวิธีระบบ

ประโยชน์ของวิธีระบบ

1 ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีขั้นตอน
2 ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบการดำเนินการได้ทุกขั้น
3 ผู้ตรวจสอบสามารถติดตามได้ง่าย
4 ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5 ทำให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
6 ได้สิ่งเร้าปัญหาที่ดีที่สุด
7 ทำให้การทำงานบรรลุผลได้ง่าย


ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ระบบ

เรื่องที่ 3.1 การวิเคราะห์ระบบ


การวิเคราะห์ระบบ (system analysis)
ความหมาย : การพิสูจน์องค์ประกอบและความสัมพันธ์ภายในของระบบการพิสูจน์เพื่อหาปัญหาในการออกแบบระบบและการกำหนดหน้าที่ของระบบ (Heinich) การวิเคราะห์ระบบเป็นวิธีการวิเคราะห์ระบบใดระบบหนึ่ง โดยมีการคาดหมายและจุดมุ่งหมายที่เป็นการปรับปรุงแก้ไขระบบนั้น โดยการวิเคราะห์นั้นจะแยกแยะปัญหาออกมาให้ได้แล้วกำหนดปัญหาเป็นหัวข้อเพื่อทำการศึกษาและหาวิธีการแก้ไข ประจักษ์ เฉิดโฉม(2537)
การวิเคราะห์ระบบนั้นเป็นการศึกษาแนวทางในการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์ทุกองค์ประกอบทุกๆ ส่วน ฉลองชัย(2545)
ระบบที่กล่าวมานั้นเป็นระบบและองค์ประกอบในความหมายของระบบใหญ่โดยทั่วไปที่มองอย่างง่าย ๆ แต่แท้ที่จริงแล้วระบบมีความหมายที่กว้างขวางและมีองค์ประกอบย่อยมากไปกว่านั้น เนื่องจากระบบจะเกิดมีขึ้นได้จากผลรวมของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและทำงนร่วมกัน โดยที่ส่วนต่างๆ หรือองค์ประกอบย่อยของระบบนี้อาจจะเป็นระบบย่อยอีกมากมายหลายระบบที่รวมอยู่ในระบบใหญ่นั้น และจะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันไม่ทางตรงก็โดยทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงของส่วนใดส่วนหนึ่งอาจจะมีผลกระทบไปยังการทำงานของระบบใหญ่ในส่วนรวมโดยอาจเป็นการให้ผลที่ดีขึ้นหรือเป็นผลในทางตรงข้ามก็ได้ การวิเคราะห์ระบบสามารถแสดงได้ดังนี้คือ
รูปแบบแผนของระบบใหญ่และระบบย่อยที่มีปฏิสัมพันธ์กัน



จากรูปของระบบดังกล่าว จะเห็นได้ว่าระบบนั้นประกอบด้วยข้อมูลที่เข้าสู่ระบบ ตัวระบบซึ่งมีองค์ประกอบย่อย A, B, C และ D จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในทางเดียวกันหรือย้อนกลับไปมาสองทางได้ หรืออาจจะทำงานเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันก็ได้ เมื่อมีการทำงานขึ้นในระบบแล้วก็จะมีผลลัพธ์เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยที่ผลลัพธ์นั้นอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบอื่น ๆ ต่อไปอีกได้ ตัวอย่างเช่น รางกายมนุษย์เป็นระบบใหญ่ระบบหนึ่งซึ่งมีองค์ประกอบเป็นระบบย่อย ๆ ต่างๆ มากมาย ในการที่จะทำให้ร่างกายมนุษย์ดำรงอยู่ได้นั้น ย่อมต้องอาศัยอาหาร น้ำ อากาศ ฯลฯ ซึ่งนับเป็นการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบร่างกายนั่นเอง เมื่อร่างกายได้รับสิ่งเหล่านี้เข้าไปแล้วก็จะนำไปสู่ระบบต่างๆ เพื่อทำงานตามขั้นตอนของกระบวนการ เช่นอากาศถูกนำไปสู่ระบบการหายใจซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบการฟอกอากาของปอด หรืออาหารและน้ำถูกนำไปสู่ระบบการย่อยอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงร่างกาย ซึ่งผลลัพธ์ก็คือการที่ร่างกายสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพื่อดำรงอยู่ในระบบสังคมต่อไป ถ้าระบบใดระบบหนึ่งในร่างกายมีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติ ก็อาจจะไปกระทบกระเทือนกับระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้ เช่น เมื่อสายตาเปลี่ยนเป็นสั้นลงหรือยาวขึ้น ก็ย่อมกระทบกับระบบประสาทอาจทำให้ปวดศีรษะหรือมึนงงได้ดังนี้เป็นต้น
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
1.ปัญหา (identify problem)รวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหา
2.จุดมุ่งหมาย(objective)กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ปัญหา
3.ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ(constraints)พิจารณาขอบเขตเพื่อการศึกษาข้อจำกัด ระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆในระบบ
4.ทางเลือก(alternative)ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหา
5.การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม(Selection)หาทางแก้ปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง
6.การทดลองปฏิบัติ(implementation)ทดลองปฏิบัติกับกลุ่มย่อย
7.การประเมินผล(evaluation)ประเมินหาจุดดีจุดด้อย
8.การปรับปรุงแก้ไข(modification)ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง นำส่วนดีไปปฏิบัติต่อไป

ตอนที่ 4 การประยุกต์ใช้ระบบเพื่อการศึกษา

เรื่องที่ 4.1 การประยุกต์ใช้ระบบเพื่อการศึกษา

การดำเนินงานการสอนครูผู้สอนจะต้องมีการวางแผนการสอนและตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนนั้นให้ดีเสียก่อนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการสอน ตลอดจนเตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนเพื่อที่จะดำเนินการให้ได้ผลลัพธ์ คือ การที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ถ้าหากว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ควรจะเป็น โดยอาจจะมีปัญหาในการสอนหรือการที่ผู้เรียนไม่สามารถเกิดการเรียนรู้ได้ดีเท่าที่ควรก็จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดระบบการสอนจะมีความหมายสำคัญ 2 ประการ ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการสอนและการนำแผนนั้นไปใช้ ได้แก่


1 ความหมายแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการการเรียนการสอนที่มีการจัดให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยที่จุดมุ่งหมายสำคัญของปฏิสัมพันธ์นี้คือ การเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดขึ้นมา
2 ความหมายที่สองเป็นเรื่องของวิธีการเฉพาะในการออกแบบระบบการสอน โดยจะประกอบด้วยวิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินกระบวนการรวมของการสอนนั้น
ในกระบวนการของการออกแบบการสอน จะต้องประกอบไปด้วยหลักพื้นฐานสำคัญ 4 ประการ คือ
1 ผู้เรียน โดยการพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบโปรแกรมการสอนที่เหมาะสม
2 วัตถุประสงค์ โดยการตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
3 วิธีการและกิจกรรม โดยการกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดได้
4 การประเมิน โดยกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้นั้นประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่

นอกจากองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญทั้ง 4 ประการเหล่านั้นแล้ว ในการออกแบบการสอนยังต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกหลายประการ เพื่อประกอบกันให้เป็นการออกแบบการสอนที่สมบูรณ์ ระบบการสอนแบบต่างๆ
นักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านได้คิดรูปแบบจำลองระบบการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบเพื่อนำมาใช้เป็นหลักในการเรียนการสอนหรือใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรูปแบบจำลองระบบการสอนไว้ในตอนที่ 2.4

เรื่องที่ 4.2 การจัดระบบ

การจัดระบบ
ระบบ หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยหรอสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยแต่ละระบบต่างทำงานของตนแล้วมาปฏิสัมพันธ์กันเพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ หรือเป็นสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีระเบียบแล้นำสิ่งนั้นมารวมกันเพื่อให้สามารถดำเนินงานบรรลุไปได้ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
องค์ประกอบของงานระบบ ต้องมีสิ่งต่างๆ เป็นตัวป้อนเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็น "กระบวนการ" เพื่อให้ได้ "ผลลัพธ์" ออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ระบบใหญ่และระบบย่อย มีความหมายกว้างและมีองค์ประกอบย่อยมาก ผลรวมของส่วนต่าง ๆ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและทำงานรวมกัน อาจเป็นระบบย่อยอีกมากมายหลายระบบที่รวมอยู่ในระบบใหญ่นั้น จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงของส่วนใด ๆ อาจมีผลกระทบไปยังการทำงานของระบบใหญ่
การจัดระบบการสอน ที่นิยมมาก คือ "การจัดระบบ" หรือ "วิธีระบบ" นั่นเอง โดยมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหา สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการดำเนินการทดลองอันนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม มี 2 ประการ


1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้สอนและเรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ดีที่สุด
2 เป็นเรื่องของวิธีการเฉพาะในการออกแบบระบบการสอนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีของการสอนในการจัดระบบการสอน อาศัยพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ


1 ผู้เรียน โดยพิจารณาลักษณะของผู้เรียนเพื่อการออกแบบโปรแกรมการสอนที่เหมาะสม
2 วัตถุประสงค์ โดยตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างในการสอนนั้น
3 วิธีการและกิจกรรม โดยกำหนดวิธีการและกิจกรรมในการเรียนรู้ว่าควรมีอะไรบ้างเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
4 การประเมิน โดยกำหนดวิธีการประเมินเพื่อตัดสินว่าการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้หรือไม่


เรื่องที่ 4.3 ระบบการสอนแบบต่างๆ

ระบบการสอนของเกอร์ลาช-อีลี่

ในการนำเอาวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน หรือการฝึกอบรม ได้มีผู้นำมาดำเนินการแล้วทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ ซึ่งระบบของ Gerlach-Ely เป็นวิธีระบบที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป ซึ่ง Gerlach-Ely (อ้างถึงงาน กิดานันท์, 2531 : 70) แบ่งขั้นตอนของ วิธีระบบออกเป็น 10 ขั้นตอน ดังนี้
1 การกำหนดวัตถุประสงค์ (specification of objectives) ระบบการสอนนี้ เริ่มต้นการสอนด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนขึ้นมาก่อน โดยควรจะเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะ หรือ "วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม" ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนสามารถวัดหรือสังเกตได้
2 การกำหนดเนื้อหา (specification of content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
3 การประเมินผลพฤติกรรมเบื้องต้น (assessment of entry behaviors) เป็นการประเมินผลก่อนการเรียน เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรม และภูมิหลังของผู้เรียนก่อนที่จะเรียนเนื้อหานั้น ๆ ว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะสอนนั้นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4 การกำหนดกลยุทธของวิธีการสอน (determination of strategy) การกำหนดกลยุทธเป็นวิธีการของผู้สอนในการใช้ความรู้เรื่องราว เลือกทรัพยากร และกำหนดบทบาทของผู้เรียนในการเรียน ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะเพื่อช่วยให้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน วิธีการสอนตามกลยุทธ์นี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ 1 การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด (expository approech) เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการใช้สื่อต่าง ๆ และจากประสบการณ์ของผู้สอน การสอนแบบนี้ได้แก่ การสอนแบบบรรยายหรืออภิปราย ซึ่งผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองแต่อย่างใด 2 การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (discovery หรือ inquiry approach) เป็นการสอนที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงเป็นผู้เตรียมสื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียน เป็นการจัดสภาพการณ์เพื่อให้การเรียนรู้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยที่ผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เอาเอง
5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน (organization of groups) เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอน และเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสม การจัดกลุ่มจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการสอนด้วย
6 การกำหนดเวลาเรียน (allocation of time) การกำหนดเวลา หรือการใช้เวลาในการเรียนการสอน จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียน วัตถุประสงค์ สถานที่ และความสนใจของผู้เรียน
7 การจัดสถานที่เรียน (alloction of space) การจัดสถานที่เรียนจะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน แต่ในบางครั้งสถานที่เรียนแต่ละแห่งอาจจะไม่เหมาะสมกับวิธีการสอนแต่ละอย่าง ดังนั้นจึงควรมีสถานที่หรือห้องเรียนในลักษณะต่างกัน 3 ขนาด คือ 1 ห้องเรียนขนาดใหญ่ สามารถสอนได้ครั้งละ 50-300 คน 2 ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย หรือการจัดกลุ่มย่อย หรือการจัดกลุ่มสัมมนาหรืออภิปราย 3 ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพัง ซึ่งอาจเป็นห้องศูนย์สื่อการสอนที่มีคูหาเรียนรายบุคคล
8 การเลือกสรรทรัพยากร (allocation of resources) เป็นการที่ผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และขนาดของกลุ่มผู้เรียนเพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การเลือกใช้ทรัพยากรหรือสื่อการสอนสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ 1 สื่อบุคคลและของจริง หมายถึง ผู้สอน ผู้ช่วยสอน วิทยากรพิเศษ หรือของจริงต่าง ๆ เพื่อช่วยในการประกอบการสอน เป็นต้น 2 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย เช่น วีดิทัศน์ แผ่นโปร่งใส่ สไลด์ ฟิล็มสตริป ฯลฯ 3 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ 4 สิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร รูปภาพ ฯลฯ 5 วัสดุที่ใช้แสดง เช่น แผนที่ ลูกโลก ของจำลองต่าง ๆ ฯลฯ
9 การประเมิน (evaluation of performance) หมายถึง การประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน อันเกิดจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเองระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลการเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียน และเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของระบบการสอนที่ยึดเอาวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็นหลักในการดำเนินงาน
10 การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (analysis of feedback) เมื่อขั้นตอนของการประเมินผลเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็จะทำให้ทราบได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด ถ้าผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก็ต้องทำการวิเคราะห์ผลหรือย้อนกลับมาพิจารณาว่า ในการดำเนินงานตั้งแต่ต้นนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้างในระบบ หรือมีปัญหาประการใดบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น องค์ประกอบการสอนด้วยวิธีระบบของเกอร์ลาซ-อีลี (Gerlach-Ely) ซึ่งประหยัด จิระวรพงศ์ (2520 : 22-23) ได้จัดการแบ่งวิธีระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี ออกเป็น 5 ส่วน คือ 1 เนื้อหา เป้าประสงค์ ต่างมีความสำคัญและสำพันธ์กัน โดยเฉพาะเป้าประสงค์ที่เป็นพฤติกรรม ซึ่งสามารถวัดได้เหมาะกับเนื้อหา และเนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และความสามารถในการนำไปใช้ต่อผู้เรียน 2 ก่อนที่จะทำการสอนต้องคำนึงถึงพื้นฐาน ความสามารถและความต้องการของผู้เรียนของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม เพื่อจัดลำดับชั้นการเรียนให้เหมาะสมตามผู้เรียน 3 ขั้นการสอน ผู้สอนต้องพิจารณาวิธีการและส่วนประกอบ อันเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนในทุกด้าน เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนดำเนินการไปโดยบรรลุผลเร็วที่สุด 4 ในการทำผลลัพธ์ต้องใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่เป็นไปตามเป้าหมาย 5 เป็นการวิเคราะห์ และปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ของการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่าวิธีระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ซึ่งนักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านนำมาใช้ และนำมาวิเคราะห์ระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี
ระบบการสอนของกลาสเซอร์ (Glasser)
กล่าวถึงรูปแบบวิธีระบบของ Glasser ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ
1. จุดประสงค์ของการสอน
2. การประเมินสถานะของผู้เรียน
3. การจัดกระบวนการเรียนการสอน
4. การประเมินผลการเรียนการสอน
5. ข้อมูลป้อนกลับ ระบบการสอนของบราวน์และคณะ (Brown, and Others) ระบบการสอนของบราวน์และคณะเป็นระบบการสอนที่จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน โดยการพิจารณาถึงแนวทางและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อที่ผู้สอนจะได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน โดยในการออกแบบระบบการสอนนี้ บราวน์และคณะได้ทำการวิเคราะห์ระบบการสอนโดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ในแต่ละหัวข้อจะแบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ ดังนี้คือ จุดมุ่งหมาย (Goals) ในการเรียนการสอนนี้มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่จะต้องการให้บรรลุผลสำเร็จ โดยผู้สอนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ วัตถุประสงค์และเนื้อหา (Objectives and Content) เป็นสิ่งแรกที่ผู้สอนต้องกำหนดให้แน่นอนว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วผู้เรียนจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์อะไรบ้าง ซึ่งจะต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ เมื่อมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนแล้วต้องมีการเลือกเนื้อหาบทเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นั้น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนแล้วสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อผลของการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ วิธีระบบของ kemp ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน ได้กำหนดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1 กำหนดข้อที่จะสอน และเขียนวัตถุประสงค์ทั่วไป
2 ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน
3 ระบุจุดมุ่งหมายของการสอนในเชิงพฤติกรรม
4 กำหนดเนื้อหาวิชาที่สนับสนุนวัตถุประสงค์ในแต่ละข้อ
5 ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถก่อนที่จะทำการสอน
6 เลือกกิจกรรมและแหล่งวิชาการสำหรับการเรียนการสอนเพื่อจะนำเนื้อหาวิชาไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางที่วางไว้
7 ประสานงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเงิน บุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ และดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดไว้
8 ประเมินผลการเรียนของผู้เรียนว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด
9 พิจารณาดูว่าควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงแผนการเรียนการสอนให้ดีขึ้นอย่างไร
Knirk และ Gertry (อ้างถึงใน สงัด, 2525 : 11-13) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบออกเป็น 6 ส่วน คือ
1.การกำหนดเป้าหมาย
2.การวิเคราะห์กิจกรรม
3.การกำหนดกิจกรรม
4.การดำเนินการสอน
5.การประเมินผล
6.การปรับปรุงแก้ไข

ระบบการสอนของคลอสไมร์และริปเปิล (Klausmeir และ Ripple) Klausmeir และ Ripple (อ้างถึงใน สงัด, 2525 : 15) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการสอนไว้ 7 ส่วน คือ
1 กำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2เตรียมความพร้อมของนักเรียน
3 จัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ
4 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5 ดำเนินการสอน
6 สัมฤทธิ์ผลของนักเรียน
7 การจัดและประเมินผลการเรียนการสอน


ไม่มีความคิดเห็น: